วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

บทที่ 8 ศาล และองค์กรอิสระ

(ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550)
ศาลใช้อำนาจตุลาการในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง แต่ยังมีองค์กรอิสระอื่นที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยประชาชนในการตรวจสอบให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปตามรัฐธรรมนูญและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อความยุติธรรม

บทที่ 7 เรื่อง คณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านกฎหมาย ทางการเมือง และในทางอำนาจที่กำหนดไว้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีคณะรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 36 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นไม่เกิน 35 คน 

บทที่ 6 เรื่อง รัฐสภา

 รัฐสภามีหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สมาชิกรัฐสภาเป็นผู้แทนปวงชนทั้งประเทศ
การเข้าเป็นสมาชิกรัฐสภา จึงต้องมีการกลั่นกรองคุณสมบัติก่อนได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนและต้องไม่กระทำการอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ 

ทที่ 5 เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ที่ เรื่อง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสังคมทุกสังคมจะเจริญก้าวหน้าเป็นปึกแผ่นได้ ย่อมต้องมีระเบียบวินัยและผู้นำของสังคมเป็นหลักในการปกครอง ผู้นำของสังคมระดับประเทศโดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของประธานาธิบดีหรือพระมหากษัตริย์ สำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่การใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ทรงมิได้ใช้พระราชอำนาจเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง แต่มีองค์การหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบต่าง ๆ กันไป พระราชอำนาจทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นฐานะประมุขของรัฐ หรือในฐานะอื่น ได้ถูกกำหนดไว้โดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ 

บทที่4 พัฒนาการการเมืองการปกครองของไทย

การเมืองการปกครองของไทยในสมัยสุโขทัยและอยุธยาได้วิวัฒนาการมาสอดคล้อง กับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทยในสมัยนั้น ๆ ครั้นถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์การเมืองการปกครองของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปเพราะได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกเป็นสำคัญ

บทที่ 3 การเมืองการปกครอง

   ที่การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน และการใช้อำนาจที่ได้มาเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชน ส่วนการปกครองเป็นการทำงานของ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะดำเนินการตามกฎหมายและนโยบายที่รัฐมอบให้ดำเนินการ โดยมุ่งที่จะสร้าง ความผาสุก ความเป็นระเบียบ ความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมภายใต้รูปแบบการปกครองแบบ ประชาธิปไตยและแบบเผด็จการ

บทที่ 2 โครงสร้างทางสังคมและลักษณะของสังคมไทย

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีโครงสร้างทางสังคมเช่นเดียวกับโครงสร้างทางสังคมทั่วไปในเรื่องของกลุ่มสังคมและสถาบันสังคม การที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่มีแบบแผนและมีแบบแผนก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียขึ้นในสังคมไทย ในแง่ของผลเสีย พบว่า กระบวนการของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาในสังคมไทยมากมาย จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกทุกคนในสังคมไทยต้องให้ความร่วมมือ ในการร่วมแก้ไขปัญหา
สาระการเรียนรู้

บทที่ 1 หน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมไทย

สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่ยึดหลักความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม ทั้งนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมประชาธิปไตยหรือพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงควรมีการปฏิบัติตนที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สาระการเรียนรู้
1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย
1.1 หน้าที่ของพลเมืองดี 
1.2 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี 
2. สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ
2.1 หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ